เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ในที่นี้ ได้แก่ ในความเห็นนี้ ความถูกใจนี้ ความพอใจนี้ ความ
ยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้
อัตภาพนี้ มนุษยโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ในที่นี้
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ คือ นรชน ... มนุษย์1 รวมความว่า เพราะฉะนั้น
สัตว์เกิดพึงศึกษาในที่นี้
คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า พึงรู้จักกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า
เป็นกรรมที่ผิด ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ
โดยประการทั้งปวง คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด
คำว่า พึงรู้จัก ... ว่า เป็นกรรมที่ผิด อธิบายว่า พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง
รู้เฉพาะ แทงตลอดกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ผิด ปาณาติบาต อทินนาทาน
กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา
พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ 5 นิวรณ์ 5 เจตนา ความ
ปรารถนา ความตั้งใจที่ผิดว่าเป็นกรรมที่ผิด
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... อายตนโลก รวมความว่า พึงรู้จักกรรม
อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า เป็นกรรมที่ผิด
คำว่า ไม่พึงประพฤติผิด เพราะเหตุแห่งกรรมที่ผิดนั้น อธิบายว่า ไม่พึง
ประพฤติ คือ ไม่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ไม่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ ไม่พึง
สมาทานประพฤติผิด เพราะเหตุแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต
อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ
อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ 5 นิวรณ์ 5 เจตนา
ความปรารถนา ความตั้งใจที่ผิด รวมความว่า ไม่พึงประพฤติผิด เพราะเหตุแห่ง
กรรมที่ผิดนั้น

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 1/4

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :50 }